บทที่ 13 : เทือกเขาถนนธงชัยสู่สมุทรสงคราม
เขาว่าหลวงพี่เป็น...ผู้มีอิทธิพล
โดยพระธาดา จรณธโร
ประธานมูลนิธิธรรมชาติพิสุทธิ์ (องค์กรสาธารณประโยชน์)
......................................
หลวงพี่ชอบดูแผนที่มาตั้งแต่จำความได้ สะสมแผนที่ไว้ทั้งที่เป็นแผ่นพับและที่เป็นหนังสือหลายเล่มแต่กระจัดกระจายหายไปหมดแล้ว จนกระทั่งมีสมาร์ทโฟนและอินเตอร์เน็ต หนึ่งในแอ็ปที่หลวงพี่ใช้บ่อยที่สุดคือแอ็ปแผนที่ จำได้ว่าตอนเด็กๆเคยเรียนฉลุไม้ ครั้งหนึ่งหลวงพี่เอาแผนที่ประเทศไทยแปะบนแผ่นไม้ทากาวแล้วเลื่อยฉลุประเทศไทยออกมา แต่น่าเสียดายที่ประเทศไทยของหลวงพี่หักเป็นสองท่อนอย่างง่ายดายตรงแถวๆประจวบคีรีขันธ์ ทำใมตรงนั้นประเทศเรามันจึงได้เอวบางคอดกิ่วจังเลย?
นั่นก็นำมาซึ่งการชอบอีกวิชาหนึ่งคือวิชาประวัติศาสตร์ อย่างน้อยประวัติศาสตร์ก็บอกเราได้ว่าทำใมเส้นแบ่งประเทศจึงอยู่ตรงที่มันอยู่ และจริงๆแล้วประวัติศาสตร์มีผลโดยตรงกับภูมิศาสตร์ - อย่างไรหรือ? ลองคิดดูว่าถ้าฝรั่งเศสไม่เฉือนเอาดินแดนแถวแม่น้ำโขงไปจากเมืองไทย บัดนี้ภูมิประเทศแถวนั้นจะเป็นอย่างไรเมื่อนึกถึงความสามารถในการดูแลรักษาป่าไม้ของคนไทย? เช่นเดียวกับทางตะวันตกที่อังกฤษเฉือนเอามะริดและทวายไป ถ้าจะบอกว่าอังกฤษเอาดินแดนไปจากไทย แล้วแถวนั้นแต่ดั้งเดิมมันเป็นของใคร? สืบไปสาวมาก็พบว่ามันเป็นของกลาง ใครมีอำนาจขึ้นมาก็เข้าครอบครอง พม่าบ้างมอญบ้างไทยบ้าง ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป
หลวงพี่ชอบวิชาประวัติศาสตร์ อย่างน้อยก็บอกเราว่าทำไมเส้นแบ่งประเทศจึงอยู่ตรงที่มันอยู่ |
สมัยเด็กๆหลวงพี่ถูกบังคับให้ท่องจำว่าชนชาติไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไต แต่มาสมัยนี้เห็นมีคนบอกว่าเราอยู่แถวที่เราอยู่ที่เรียกว่าสุวรรณภูมินี่แหละมาแต่ดั้งเดิม ไทยเริ่มมีบันทึกทางประวัติศาสตร์ชัดเจนขึ้นก็ยุคสุโขทัย พึ่งจะเจ็ดแปดร้อยปีมานี่เอง (ลองเทียบดูกับจีน อินเดีย หรืออียิปต์ซึ่งเขามีประวัติศาสตร์ชัดเจนต่อเนื่องกันมาหลายพันปี) ซึ่งตอนนั้นมหาอำนาจในแถบนี้คือขอม (ก็เขมรนั่นแหละ) ทางด้านตะวันตกก็พม่า ดูๆไปไม่แน่ว่ากงล้อประวัติศาสตร์อาจจะหมุนทับรอยเดิม สักวันลูกหลานไทยอาจต้องไปหางานทำในเขมรหรือพม่าบ้างก็ได้ (ย้อนหลังไปหลายร้อยปีก่อนถ้าเราไปบอกคนพม่าว่า อีกหน่อยลูกหลานของพวกเขาจะไปรับจ้างทำงานในประเทศไทยเป็นแสนเป็นล้านคน คิดว่าเขาจะเชื่อไหม?)
จีน อินเดีย อียิปต์มีการบันทึกประวัติศาสตร์หลายพันปี ไทย เริ่มมีการบันทึกในยุคสุโขทัย ประมาณ 700 ปี |
ขอม มีอำนาจในแถบนี้มาก่อนประเทศไทย |
แต่การศึกษาประวัติศาสตร์ก็ต้องระวัง เพราะมันแล้วแต่ว่าใครเขียน ถ้าเป็นไปได้ต้องหาอ่านจากหลายๆแหล่ง แล้วสังเคราะห์ออกมาเป็นเวอร์ชั่นของเราเอง อย่างสากก๊ก หลวงพี่อ่านของยาขอบบ้าง ของเจ้าพระยาพระคลัง(หน) บ้าง ฉบับวนิพกบ้าง แต่ที่ชอบที่สุดคือฉบับของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ ซึ่งจากมุมมองของท่านโจโฉคือพระเอก เล่าปี่และขงเบ้งต่างหากคือผู้ร้าย ก็เป็นมุมมองที่แปลกดี มาอ่านสามก๊กจบครบบริบูรณ์ก็ตอนมาบวชนี่เอง
สมัยอบรมบุคลากรใหม่ หลวงพี่ยืมหนังสือประวัติศาสตร์โลกเล่มหนาเท่าหมอนจากห้องสมุดของวัดมาอ่านจนจบ ก็พบว่าฝรั่งไม่ให้ความสำคัญกับมองโกลเท่าไหร่นัก ทั้งที่จริงๆแล้วเมื่อเทียบกัน เจงกิสข่านยิ่งใหญ่กว่าอเล็กซานเดอร์มหาราชหรือนโปเลียนมหาราชอย่างเทียบกันไม่ติด เมื่อครั้งที่อเล็กซานเดอร์มหาราชพิชิตส่วนหนึ่งของอินเดียได้ ถ้าจำไม่ผิดคือแถบลุ่มน้ำสินธุด้านที่ติดกับเอเชียกลาง อเล็กซานเดอร์ทอดถอนใจว่าดินแดนที่จะให้พิชิตนั้นไม่มีอีกแล้ว .. ตลกมาก เพราะแผ่นดินอินเดียยังเหลืออีกกว้างขวาง ยังไม่นับอาณาจักรจีนอีก แต่มองโกลครอบครองแทบทั้งทวีปเอเชีย โลกอาหรับ และยุโรปเกือบหมดทวีป ที่ไม่ได้ไปยึดยุโรปตะวันตกก็เพราะไม่มีทุ่งหญ้าเป็นอาหารให้ม้ากินแค่นั้นเอง ผู้เขียนหนังสือประวัติศาสตร์โลกเล่มนั้นคงอยากจะลืมว่าครั้งหนึ่งพวกคอเคเซี่ยนผิวขาวต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของคนผิวเหลืองอยู่นับร้อยปี เจงกิสข่านและลูกหลานครอบครองดินแดนได้มากที่สุดเท่าที่ประวัติศาสตร์เคยจารึกไว้ แต่ทั้งๆที่มองโกลเคยบุกมาถึงเวียตนาม เคยพยายามไปยึดญี่ปุ่นและเกาะชวา แต่ทำใมมองโกลไม่บุกมาถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยา? .. หลวงพี่มีทฤษฎี .. อ่านต่อไปนะ
เช่นเดียวกัน ภูมิศาสตร์ก็มีผลกับประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก พวกเราคงเคยได้ยินเมืองพุกามในประเทศพม่าที่ซึ่งมีเจดีย์อยู่มากมายเป็นร้อยเป็นพันองค์ แล้วพวกเราทราบไหมว่าใครเป็นคนบุกทำลายอาณาจักรแห่งนี้? ถ้าหนังสือที่หลวงพี่อ่านมาเขียนไว้ไม่ผิด คำตอบคือกองทัพมองโกลลูกหลานของเจงกิสข่านนั่นเอง ถ้าไม่มีป่าเขาสลับซับซ้อนขวางกั้นไว้ กองทัพมองโกลคงตลุยมาถึงสุวรรณภูมิแล้ว (อาจผ่านดอนเมืองก่อนด้วย) ไม่แน่ว่าหน่วยลาดตระเวณมองโกลอาจมาถึงแถวอุ้มผาง แล้วกลับไปรายงานท่านข่านว่า ดินแดนที่บุกรุกได้ง่ายกว่านี้ยังมีอยู่อีกมาก ไปจัดการที่อื่นก่อนดีกว่า ..
จากการชอบดูแผนที่นี่เอง ตั้งแต่ชั้นประถมแล้วหลวงพี่สังเกตุเห็นว่าชายแดนไทยกับพม่ามีอยู่จุดหนึ่งแถวๆแม่ฮ่องสอน มีพื้นที่ของประเทศไทยลักษณะคล้ายใบหูยื่นเข้าไปในประเทศพม่า และต่ำลงมาอีกจุดหนึ่งที่จังหวัดตากมีพื้นที่ของประเทศพม่าลักษณะและขนาดประมาณเท่าๆกันยื่นเข้ามาในประเทศไทย หลวงพี่คิดตามประสาเด็กๆว่าทำใมสองประเทศไม่แลกพื้นที่สองจุดนี้กัน เส้นแบ่งประเทศมันจะได้ดูเรียบร้อยสบายตา เวลาเลื่อยฉลุประเทศไทยก็จะได้ง่ายขึ้นด้วย
มาถึงตอนนี้หลวงพี่รู้แล้วทำใมเส้นแบ่งประเทศที่จังหวัดตากถึงเป็นอย่างนั้น เพราะเอาแม่น้ำเมยเป็นหลักนั่นเอง ปกติแม่น้ำไม่ไหลเป็นเส้นตรง มีแต่คลองที่คนขุดเท่านั้นที่ตรงเป๊ะ แม่น้ำเมยก็เช่นกันมันก็ไหลคดโค้งไปตามธรรมชาติ มันมีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาสูงแถวๆรอยต่อของอำเภอพบพระและอำเภออุ้มผางที่เรียกกันว่าอุ้มเปี้ยม แล้วไหล ขึ้นไปทางเหนือ ใช้เป็นเส้นเขตแดนให้ไทยและพม่าไปจนถึงแถวๆแม่ฮ่องสอนทีเดียว
แผนที่จ.ตาก |
อำเภออุ้มผางอยู่ด้านใต้ของพื้นที่รูปใบหูที่แผ่นดินพม่ายื่นเข้ามาในประเทศไทยนี่เอง เนื่องจากกิตติศัพท์เรื่องความหนาวเย็นของอุ้มผาง เดิมทีหลวงพี่คิดว่ามันคงอยู่ทางเหนือของอำเภอแม่สอดขึ้นไปทางเชียงใหม่หรือแม่ฮ่องสอน แต่เอาเข้าจริงๆ กลับกลายเป็นว่าอุ้มผางอยู่ลงไปทางใต้ของแม่สอดและมีพื้นที่ติดกับจังหวัดกาญจนบุรี แปลกจริงๆ เพราะเมืองกาญจน์นั้นมีอากาศร้อนเหมือนตัวเมืองจังหวัดตาก แต่อุ้มผางกลับเย็นสบาย (แต่หลังๆนี้ก็เริ่มมีร้อนบ้างแล้ว)
เลยอุ้มเปี้ยมมานิดเดียวก็เข้าเขตอำเภออุ้มผาง เจอหมู่บ้านแรกชื่อแม่กลองน้อย เมื่อนั่งรถผ่านช่วงนี้คืออุ้มเปี้ยมแม่กลองน้อยและแม่กลองใหญ่นั้น เราจะได้ชื่นชมกับฝีมือการเกษตรของพี่น้องม้งที่เปลี่ยนภูเขาหลายต่อหลายลูกให้กลายเป็นแปลงกะหล่ำได้อย่างน่าทึ่ง ไม่ว่าภูเขาจะสูงชันเพียงใด ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่จำกัดเขตไว้รับรองว่าพี่น้องม้งใช้ทำประโยชน์ได้หมด
ที่อุ้มเปี้ยมมีศูนย์ผู้อพยพภัยสงครามจากพม่าตั้งอยู่ นักท่องเที่ยวชอบแวะถ่ายรูปกัน ถ้าเข้าไปในศูนย์ฯ(ต้องขออนุญาตก่อน) จะเหมือนกับได้ไปเที่ยวต่างประเทศเลย เพราะผู้อพยพมีหลายเชื้อชาติศาสนา ในค่ายนี้มีครบทั้งวัดพุทธ โบสถ์คริสต์และมัสยิด
ชาวเขาเผ่าปกากะญอ หมู่บ้านแม่กลองคี |
แม่กลองน้อยและแม่กลองใหญ่เป็นหมู่บ้านชาวม้ง ถนนช่วงระหว่างแม่กลองใหญ่และหมู่บ้านต่อไปชื่อแม่กลองคีซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวปกากะญอนั้นตัดผ่านป่าดึกดำบรรพ์ที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก มีเฟิร์นยักษ์ขนาดน้องๆต้นหมาก ซึ่งหลวงพี่เคยเห็นครั้งแรกที่ประเทศนิวซีแลนด์ ที่นั่นเรียก Tree fern และในเมืองไทยเคยเห็นที่ดอยอินทนนท์(อาจมีที่อื่นอีกแต่หลวงพี่ไม่เคยเจอ) ได้ยินมาว่าที่เรียกป่าดึกดำบรรพ์นั้นเป็นเพราะว่า ไม่เคยมีมนุษย์เข้าไปแผ้วทางอยู่อาศัยเลย (แต่แถวๆแม่สะเรียงจังหวัดแม่ฮ่องสอน ก็มีป้ายบอกเป็นป่าดึกดำบรรพ์เหมือนกัน แต่ปรากฎว่าโดนถางเป็นไร่ไปเยอะแล้ว) ภายหลังเปลี่ยนป้ายจากคำว่าป่าดึกดำบรรพ์เป็นป่ามหัศดำ ซึ่งคือชื่ออย่างเป็นทางการของเจ้าเฟิร์นยักษ์นั่นเอง (แต่ชาวบ้านเรียกว่าผักกูดยักษ์ ผักกูดใช้ทำแกงส้มอร่อยมาก)
ผักกูด เป็นผักปลอดสารพิษ นิยมนำมาประกอบอาหารหลายชนิด |
ถนนช่วงสุดท้ายก่อนลงไปถึงหมู่บ้านแม่กลองคีนั้นเรียกว่าถนนลอยฟ้า สาเหตุเพราะความสูงชัน มีจุดจอดรถชมวิวด้วย ถ้าขับรถไม่เป็น ลงเขาช่วงนี้เป็นได้ผ้าเบรคไหม้กันทีเดียว คนขับมือใหม่หรือพวกขาซิ่งต่างถิ่นมาขับลงเหวแถวนี้กันหลายคันแล้ว หลวงพี่ชอบเส้นทางช่วงผ่านป่าดึกดำบรรพ์นี้มาก ผ่านไปผ่านมานับร้อยเที่ยวก็ไม่เบื่อ
สาเหตุที่เรียกถนนลอยฟ้า เพราะมีความสูงชัย ระหว่างทางจะมีจุดชมวิวด้วย |
มาถึงตอนนี้พวกเราได้ยินชื่อหมู่บ้านสามแห่งแล้วที่มีคำว่าแม่กลองอยู่ด้วย จริงๆยังมีอีกสองหมู่บ้านคือแม่กลองเก่าและแม่กลองใหม่ซึ่งอยู่ติดๆกับตัวเมืองอุ้มผาง ถ้าเราไม่รู้ที่มาที่ไปก็คงคิดว่าเป็นเรื่องบังเอิญที่ชื่อนี้ไปพ้องเข้ากับแม่น้ำแม่กลองที่เมืองกาญจน์ แต่จริงๆแล้วมันมีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างมาก
เทือกเขาถนนธงชัย ปัจจุบันยังมีความสมบูรณ์อยู่มาก |
ก่อนหมู่บ้านแม่กลองน้อย มีห้วยชื่อเดียวกันไหลลงมาจากภูเขาที่แบ่งเขตจังหวัดตากและกำแพงเพชร (ภูเขาทั้งหมดในบริเวณนี้คือส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัยอันยิ่งใหญ่นั่นเอง จอมพราน รพินทร์ แงซาย และดาริน แห่งเพชรพระอุมาอันลือลั่นของพนมเทียนก็บุกป่าของเทือกเขานี้แหละเข้าไปในพม่า สมัยปิดเทอมตอนเรียนช่างกล หลวงพี่เช่าหนังสือเพชรพระอุมาหมดทุกเล่มทุกตอนมานั่งอ่านนอนอ่านจนจบ นี่คงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ยิ่งชอบป่าเขาและการผจญภัยมาก) ห้วยแม่กลองน้อยใหลมารวมกับห้วยแม่กลองใหญ่กลายเป็นห้วยแม่กลอง แล้วไหลผ่านป่าดงดิบไปโผล่ที่หมู่บ้านแม่กลองคี จากนั้นก็ไหลผ่านหมู่บ้านอีกหลายแห่ง (ถ้าจะพูดให้ถูกต้องบอกว่า มีคนไปสร้างหมู่บ้านอีกหลายแห่งริมห้วยแม่กลอง) ก่อนถึงหมู่บ้านแม่กลองเก่าและแม่กลองใหม่
น้ำตกทีลอซู |
หลวงพี่ธาดา จรณธโร ขณะทำพิธีบวชต้นไม้ |
หลังจากรับน้ำจากน้ำตกทีลอซูแล้วห้วยแม่กลองก็ไหลผ่านป่าทึบมาเรื่อยๆ มีคนเล่าให้ฟังว่ามันไหลผ่านถ้ำแห่งหนึ่งชื่อถ้ำลอดซึ่งธรรมชาติสร้างไว้ประหนึ่งเพื่อรักษาป่าสักของอุ้มผางไว้ เพราะมีผู้พยายามขนซุงไม้สักออกไป แต่ทางรถก็ลำบากเกิน จะล่องซุงลงมาทางห้วยแม่กลองก็ติดถ้ำที่ว่านี้อีก ทุกวันนี้เวลาล่องแก่งแม่กลองหรือเดินทางเข้าน้ำตกทีลอซูในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายนซี่งเป็นช่วงที่ต้นสักออกดอก เราจะพบว่าอุ้มผางมีต้นสักอยู่จำนวนมหาศาล เพราะถ้าไม่ใช่เพราะดอกสักมองไกลๆเราจะไม่รู้ว่ามันเป็นต้นอะไร สักหลายต้นใหญ่ขนาดคนโอบไม่รอบ จากนั้นห้วยแม่กลองก็มารวมกับห้วยแม่จัน แถวๆหมู่บ้านพอกะทะ ตำบลแม่จัน (เอาไว้วันหลังถ้ามีโอกาสจะเล่าให้ฟังถึงห้วยแม่จันนี้) แล้วไหลผ่านอีกสองสามหมู่บ้านจึงออกจากอุ้มผางเข้าสู่จังหวัดกาญจนบุรีที่อำเภอสังขละบุรีเป็นที่รู้จักกันในนามว่า “แม่น้ำแควใหญ่” .. อ๋อ (เหมือนจะได้ยินบางคนอุทาน)
ต้นสัก บางต้นขนาดใหญ่ๆ หลายคนโอบ จะมีอายุกว่า 1000 ปี |
ดอกสัก |
ตอนนี้พวกเรารู้รึยังว่าหมู่บ้านสารพัดแม่กลองของอุ้มผางมีความสัมพันธ์กับแม่กลองที่ริมอ่าวไทยอย่างไร? หลวงพี่ปล่อยให้พวกเรานั่งประติดประต่อเรื่องราวกันดูนะ ..
29 สิงหาคม 2559 12:25
โดยพระธาดา จรณธโร
ประธานมูลนิธิธรรมชาติพิสุทธิ์
(องค์กรสาธารณประโยชน์)
(องค์กรสาธารณประโยชน์)
อ่านบทนำ - บทที่ 6ได้ที่
http://buddhisthotissue.blogsp ot.jp/2016/08/series_1.html
อ่านบทที่ 7 : ชีวิตคือการเดินทาง ได้ที่
อ่านบทที่ 8 : Been there .. Done that ..
http://buddhisthotissue.blogspot.sg/2016/08/8-been-there-done-that-series.html
อ่านบทที่ 9 : My way
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/08/9-my-way-series.html
อ่านบทที่ 10 : ซาโยนาระ
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/08/10-series.html
อ่านบทที่ 11 : ชีวิตใหม่...ในเพศสมณะ
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/09/11-series.html
อ่านบทที่ 12 : หนีเสือปะจระเข้
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/09/12-series.html
อ่านบทที่ 9 : My way
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/08/9-my-way-series.html
อ่านบทที่ 10 : ซาโยนาระ
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/08/10-series.html
อ่านบทที่ 11 : ชีวิตใหม่...ในเพศสมณะ
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/09/11-series.html
อ่านบทที่ 12 : หนีเสือปะจระเข้
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/09/12-series.html
คนรักธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่จิตใจงาม เรียบง่ายและจริงใจ เหมือนธรรมชาติที่ไม่ต้องการการปรุงแต่ง กราบอนุโมทนาบุญกับหลวงพี่ที่รักธรรมชาติ รักป่า และรักษาความเป็นธรรมชาติที่สวยงามไว้ให้อยู่กับโลกสวยๆใบนี้ไปให้นานที่สุดเท่าที่ทำได้ กราบสาธุๆๆด้วยความเคารพเจ้าค่ะ
ตอบลบสาธุๆๆ ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ
ตอบลบผลงานที่ควรค่าแก่ความปลื้มปีติใจ
การสร้างบุญบารมี ย่อมมีอุปสรรคเป็นธรรมดา หากเรามุ่งมั่นตั้งใจอยู่บนเส้นทางแห่งความดีอย่างไม่ท้อถอย สู้ด้วยสติและปัญญา วันหนึ่งต้องสำเร็จอย่างแน่นอน ดังโอวาทของมหาปูชนียาจารย์ที่ท่านให้ไว้ว่า "ไม่สู้ ไม่หนี ทำความดีเรื่อยไป" ฯ
พระช่วยอยู่รักษาป่าสมบูรณ์ รักษาจิตใจคนให้บริสุทธิ์ อนุโมทนาบุญด้วยนะครับ
ตอบลบขอบพระคุณสำหรับความรู้ที่พอจ.เมตตาถ่ายทอดให้ฟังและขอกราบอนุโมทนาบุญกับพอจ.ที่ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายจนขจรขจายในแถบอุ้มผางด้วยนะขอรับ
ตอบลบกราบถวายกำลังใจพระอาจารย์ญาดาครับ
ตอบลบกราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุครับ
ตอบลบกราบอนุโมทนาบุญค่ะ...
ตอบลบกราบถวายกำลังใจเจ้าค่ะ
ตอบลบกราบถวายกำลังใจให้หลวงพี่ทำงานเขียนเชิงอนุรักษ์ให้ลูกหลานไทยได้รู้จักป่าผืนสำคัญของประเทศด้วยนะคะ สาธุค่ะ
ตอบลบถวายกำใจให้หลวงพี่เจ้าค่ะ
ตอบลบประวัติศาสตร์...ช่วยจำเรื่องดีไว้
ตอบลบประวัติศาสตร์...ช่วยให้ได้ศึกษา
ประวัติศาสตร์...ช่วยรวมเรื่องผ่านมา
ประวัติศาสตร์...ช่วยพาได้เข้าใจ
ประวัติศาสตร์...ช่วยจำเรื่องสำคัญ
ประวัติศาสตร์...ช่วยกันบันทึกไว้
ประวัติศาสตร์...ช่วยแม้กาลผ่านไป
ประวัติศาสตร์...ช่วยให้ได้ปัญญา
ประวัติศาสตร์...ช่วยโลกให้เรียนรู้
ประวัติศาสตร์...ช่วยครูผู้รักษา
ประวัติศาสตร์...ช่วยเสริมแรงศรัทธา
ประวัติศาสตร์...ช่วยพา(พระ)ชนะมาร...
กราบถวายกำลังใจ เจ้าค่ะ ผู้ที่เข้าใจธรรมชาติย่อมอยู่เหนือธรรมชาติ ถูกเข้าใจว่ามีอิทธิพลย่อมอยู่เหนืออิทธิพล เจ้าค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ
ตอบลบถวายกำลังใจคะ
ตอบลบกราบถวายกำลังใจค่ะ
ตอบลบกราบถวายกำลังใจเจ้าค่ะ
ตอบลบกราบถวายกำลังใจให้ท่านสู้เพื่อความคงอยู่ของความจริงและความถูกต้อง
ตอบลบกราบอนุโมทนาบุญ สาธุๆๆครับ
ตอบลบพระอาจารย์เขียนสนุก มีสาระความรู้ น่าติดตามทุกตอนเลยค่ะ หายากนะคะที่จะมีผู้ที่ออกบวชสละความสบายไปอยู่ในที่ไม่สะดวกสบาย รักษ์ป่า พัฒนาศีลธรรมในใจผู้คน สมแล้วที่เค้าบอกว่าหลวงพี่เป็นผู้มีอิทธิพล(ในการทำความดี) 😄😄😄. กราบอนุโมทนาบุญค่ะ สาธุ
ตอบลบผู้มีอิทธิพลตอนนี้ คือ ผู้ที่จ้องทำร้ายผู้อื่น เพื่อผลประโยชน์ตัวเอง
ตอบลบน้อมกราบถวายกำลังใจเจ้าค่ะ และกราบอนุโมทนาสาธุเจ้าค่ะ
ตอบลบประเทศมีพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งของพวกเราชาวพุทธ หยุด
ให้ร้ายพระหยุดทำลายพระพุทธศาสนาเสียทีค่ะ
พระอาจารย์เขียนเก่งมากค่ะ เหมือนเดินทางไปอยู่ในพื้นที่นั้นเลยค่ะ
ตอบลบพระอาจารย์ เก่งและดีจริงๆ
ตอบลบสาธุ
ตอบลบขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ
ตอบลบสาธุ ครับ
ตอบลบสาธุค่ะ
ตอบลบสาธุ ๆ ๆ ขอให้มารสดุ้งและอยู่ห่างๆ สิ่งที่หลวงพี่ได้บวชรักษาไว้
ตอบลบให้ไทยทั้งแผ่นดินด้วยเทอญ
ติดตามพระอจารย์ค่ะ กราบชื่นชมค่ะ
ตอบลบชอบค่ะ เป็นบทความถูกใจนักอนุรักษ์เลย
ตอบลบกราบอนุโมทนาบุญกับพระอาจารย์ที่สละความสบายในเมือง มาอยู่ปกป้อง และรักษาธรรมชาติ ขอเป็นกำลังใจให้เสมอเจ้าค่ะ
ตอบลบอ่านบทความนี้ได้เปิดโลกทัศน์เลยค่ะ
ตอบลบอ่านบทความนี้ได้เปิดโลกทัศน์เลยค่ะ
ตอบลบปลื้มแทนเลยค่ะ อนุโมทนาบุญนะคะ
ตอบลบยุคถิ่นกาขาว โมฆบุรุษใจบาป ได้ครองเมือง
ตอบลบกราบถวาบกำลังใจแด่หลวงพี่ ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกายด้วยครับ สาธุครับ