เขาว่าหลวงพี่เป็น...ผู้มีอิทธิพล
โดยพระธาดา จรณธโร
ประธานมูลนิธิธรรมชาติพิสุทธิ์ (องค์กรสาธารณประโยชน์)
...........................
Been there .. Done that ..
เป็นวลีที่เพื่อนฝรั่งชอบพูด มีความหมายประมาณว่า .. ที่นั่นก็เคยไป(แล้ว) ไอ้นั่นก็เคยทำ(แล้ว) ..
...........................
แผนที่ Setagaya, JAPAN |
ย่านช๊อปปิ้ง เซตากาย่า |
หลวงพี่เลือกอยู่ที่อพาร์ทเม้นท์แห่งหนึ่งแถวเซตากาย่าในกรุงโตเกียวติดกับสวนสาธารณะเล็กๆ จริงๆต้องเรียกว่าสตูดิโอเพราะไม่มีการกั้นผนังเป็นห้องเล็กห้องน้อย เป็นห้องโล่งกว้าง อยู่สบาย เรียบง่ายคลาสสิค บางครั้งก็ชวนเพื่อนๆที่ทำงานมาทำอาหารทานกัน หลวงพี่โชว์ฝีมือเจียวไข่ทำต้มยำเลี้ยง เพื่อนชาวญี่ปุ่นชมกันใหญ่ว่าสุโก้ยๆ ตอนหลังอยู่นานๆเข้าจึงรู้ว่าคนญี่ปุ่นสุภาพมาก เขามักจะพยายามพูดให้เรารู้สึกดี จริงๆแล้วจึงไม่รู้ว่าเราทำอาหารอร่อยจริงๆรึว่าเขาแกล้งชมให้เราสบายใจ
ภายในสถานีรถไฟ ไปโตเกียว |
ป้ายสีดำ บอกสถานีต่อไป เหมือนรถไฟฟ้าบ้านเรา |
ช่วงสุดสัปดาห์นอกจากหาเดินดูซื้อข้าวของชมบ้านเมืองแล้ว
กิจกรรมอย่างหนึ่งที่หลวงพี่ชอบมากก็คือ
นั่งรถไฟไปจนสุดสายทางทิศตะวันตกของโตเกียว
แค่ชั่วโมงเดียวก็ไปถึงส่วนที่เป็นป่าเขา
หลวงพี่ชอบไปเดินป่า
แล้วก็นั่งริมน้ำถอดรองเท้าเอาเท้าแช่น้ำเล่น
...........................
ในฤดูร้อนช่วงเดือนกรกฏาคมของทุกปี ทางการเปิดให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้นไปจนถึงยอดเขาฟูจิ
ภูเขาไฟฟูจิ หรือ ฟูจิซาน |
...........................
เป็นการฉลองวันเกิด
ครบรอบ 40 ปีของหลวงพี่
แบบลืมไม่ลง ..
ประหนึ่งเป็นการซ้อมไว้
อีกหลายปีต่อมา
หลวงพี่จะได้ไปเดินขึ้นลงเขา
อีกหลายครั้ง
แต่ไม่ใช่ในญี่ปุ่น
...........................
หลวงพี่มีรถสกู้ทเตอร์(คล้ายรถเวสป้า)คันใหญ่อยู่หนึ่งคัน บางครั้งจะใช้รถคันนี้ ขับไปทำงานที่ศูนย์วิจัยที่โยโกสุกะ ซึ่งอยู่เลย โยโกฮาม่า ไปหน่อย แต่ส่วนใหญ่จะนั่งรถไฟ บ่อยครั้งที่ต้องนั่งรถไฟหัวจรวด(ชิงกันเซ็น)ไปประชุมกับลูกค้าที่ต่างจังหวัดเช่นเซ็นได หรือโอซาก้า
มีครั้งหนึ่งตกรถชิงกันเซ็นเพราะไปถึงชานชาลาช้าไปแค่ไม่กี่วินาที พนักงานประจำชานชาลาก็เห็น พนักงานประจำประตูก็เห็นแต่เขาก็ปิดประตูออกรถไปหน้าตาเฉย ความตรงต่อเวลาของคนญี่ปุ่นนี่ต้องถือว่าสุดยอดจริงๆ
รถไฟ "ชินกังเซ็น" |
รถไฟ "ชินกังเซ็น" ที่ทั้งวิ่งเร็ว สะอาด แถมตรงต่อเวลา |
วันหนึ่งขณะไปทำธุระที่สถานฑูตไทย หลวงพี่ก็เห็นหนังสือของวัดพระธรรมกายโตเกียว จากนั้นจึงได้ไปปฏิบัติธรรมและทำบุญที่ศูนย์โตเกียวเป็นประจำ ตอนนี้แทนที่จะขี่สกูทเตอร์เที่ยวหลวงพี่ก็เปลี่ยนเป็นขี่มันไปใส่บาตรและไปศูนย์ปฏิบัติธรรมแทน
ครั้งหนึ่งในปี 2546
ขณะกลับมาทำบุญที่วัดพระธรรมกาย จำได้ว่าตอนเย็นมีการบูชาหลวงปู่ที่บริเวณสระน้ำหน้ามหาวิหารพระมงคลเทพมุนี เจ้าหน้าที่จัดให้หลวงพี่ได้ยืนคู่กับประธานกฐินปีก่อนหน้านั้น หลวงพี่ก็มาคิดว่าถึงเราจะทำงานต่างประเทศก็เป็นแค่มนุษย์เงินเดือน ไม่เฉียดใกล้ความเป็นเศรษฐีเลย ทำอย่างไรจะทำบุญได้มากๆเหมือนเจ้าภาพท่านนั้น พลันความคิดก็เกิดขึ้นว่า .....
ทรัพย์สินเงินทองเราอาจไม่มากมาย แต่มีอย่างหนึ่งที่เจ้าภาพท่านนั้นทำอย่างเราไม่ได้ นั่นคือเราเป็นผู้ชายบวชถวายชีวิตได้เลย
..แล้ววันที่ถือว่าเป็นวันแห่งการตัดสินใจก็มาถึง..
วันหนึ่งขณะเดินอยู่บนสภาธรรมกายสากลหลังใหม่ หลวงพี่ได้ยินเสียงเพลงๆหนึ่ง เมื่อตั้งใจฟังเนื้อร้องก็เหมือนถูกสะกด
...........................
จากเรือน
เหมือนนกที่จากคอน
ไม่อาวรณ์เมื่อจรจากมา
สร้างชีวีให้มีคุณค่า
แสวงหาแต่หนทางพระนิพพาน
...........................
..เพลงชีวิตสมณะ..
ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านแต่งนั้น
ลึกซึ้งกินใจหลวงพี่
อย่างไม่อาจบรรยายได้
ภาพชีวิตที่ผ่านมาในตอนนั้นของหลวงพี่สี่สิบปีเศษ จะว่านานก็นาน แต่พอนึกๆดูก็ไม่มีอะไร จากวัยเด็กเที่ยววิ่งเล่น มาสู่วัยรุ่นติดเพื่อน มาสู่วัยทำงาน ต่อสู้ฝ่าฟันชีวิตมา อะไรที่เคยอยากทำ ก็ไปทำมาจะหมดแล้ว ที่ไหนที่อยากไปก็ไปมาจนทั่ว อะไรที่อยากได้ก็ไปหาซื้อมา ใช้ชีวิตหัวหกก้นขวิดมาแทบจะทุกรูปแบบ
แล้วเราเกิดมาทำอะไร?
...........................
.. เมื่อรู้แล้วว่าในโลกนี้ไม่มีความสุขที่แท้จริง ให้กลับมาหาหลวงพ่อ หลวงพ่อรออยู่ ..
...........................
ปี 2546
พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโยอายุ 59 ปี หลวงพี่รู้แล้วว่าในโอกาสที่ท่านอายุครบ 60 ปี หลวงพี่จะถวายอะไรบูชาธรรมท่าน ..
10 ส.ค. 2559 16:49
โดยพระธาดา จรณธโร
ประธานมูลนิธิธรรมชาติพิสุทธิ์
(องค์กรสาธารณประโยชน์)
(องค์กรสาธารณประโยชน์)
อ่านบทนำ - บทที่ 6ได้ที่
http://buddhisthotissue.blogsp ot.jp/2016/08/series_1.html
อ่านบทที่ 7 : ชีวิตคือการเดินทาง ได้ที่
ขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ
ตอบลบขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
ตอบลบขอกราบอนุโมทนาบุญค่ะ
ตอบลบขอกราบอนุโมทนาบุญในทุกๆบุญของหลวงพี่เลยนะคะ
ตอบลบสาธุครับ ได้เข้าถึงอารมณ์เลยครับ
ตอบลบความสุขที่แท้จริง คือ ความสงบภายใน
ตอบลบชอบอ่านบทความหลวงพี่มากเลยค่ะ
ตอบลบอนุโมทนาบุญด้วยครับ
ตอบลบสาธุค่ะ
ตอบลบดีมากๆครับ
ตอบลบปี46 ย่าง47 หนูเพิ่งเข้าวัดพระธรรมกายเป็นครั้งแรกในชีวิต กราบอนุโมทนาบุญกับหลวงพี่ทุกๆบุญเจ้าค่ะ
ตอบลบปี46 ย่าง47 หนูเพิ่งเข้าวัดพระธรรมกายเป็นครั้งแรกในชีวิต กราบอนุโมทนาบุญกับหลวงพี่ทุกๆบุญเจ้าค่ะ
ตอบลบกราบอนุโมทนาบุญค่ะ
ตอบลบขอกราบอนุโมทนาบุญกับหลวงพี่ธาดาด้วยค่ะ สาธุๆๆ
ตอบลบกราบอนุโมทนาบุญด้วยนะครับ
ตอบลบกราบอนุโมทนาบุญค่ะ
ตอบลบเมื่อหยุดใจไว้ที่ศูนย์กลางกายชีวิตได้ชื่อว่าเริ่มเดินทางแล้ว เริ่มเดินทางไปสู่ความสุขที่แท้จริง
ตอบลบเป็นกำลังใจให้ลพี่ธาดาครับ
ตอบลบขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ
ตอบลบขอเป็นกำลังใจให้หลวงพี่ธาดาค่ะ
ตอบลบขอเป็นกำลังใจให้หลวงพี่ธาดาค่ะ
ตอบลบขอกราบอนุโมทนากับหลวงพี่ด้วยค่ะ
ตอบลบกราบอนุโมทนาครับ
ตอบลบมันซึ้งกินใจเหลือเกิน ทำให้อยากเป็นชายได้ออกบวชมั่ง สาธุๆๆ
ตอบลบกราบอนุโมทนาบุญคะ
ตอบลบชาวพุทธต้องสู้ด้วยความจริงกับความอยุติธรรม
ตอบลบสาธุครับ
ตอบลบสาธุ สาธุ สาธุ
ตอบลบขอกราบอนุโมทนาบุญกับหลวงพี่ค่ะ หลวงพี่สุดยอดมากๆค่ะ
ตอบลบสุดยอดจริง ๆ ค่ะ กราบอนุโมทนาบุญกับหลวงพี่ด้วยค่ะ
ตอบลบสาธุค่ะ
ตอบลบกราบอนุโมทนาสาธุเจ้าค่ะ
ตอบลบสาธุครับ
ตอบลบขอกราบถวายกำลังใจแด่พระอาจารย์..
ตอบลบให้ต่อสู้เพื่อความถูกต้องและเป็นธรรม..
ให้แก่พระศาสนาต่อไปนะครับ..
ขอกราบถวายกำลังใจแด่พระอาจารย์..
ตอบลบให้ต่อสู้เพื่อความถูกต้องและเป็นธรรม..
ให้แก่พระศาสนาต่อไปนะครับ..
สาธุครับ
ตอบลบสาธุครับ
ตอบลบสาธุๆๆค่ะ
ตอบลบขออนุโมทนาบุครับ
ตอบลบสิ่งที่ยาก (ในการสร้างบุญบารมี) และการรักษาก็ยากยิ่งกว่า แต่ถ้าหากเราทำได้ นั่นคือ สุดยอดเยี่ยม !!!
Sadhu Sadhu Sadhu
ตอบลบสาธุๆๆ
ตอบลบสาธุๆๆ
ตอบลบกราบอนุโมทนาบุญเจ้าค่ะ
ตอบลบติดตามอ่าน ตลอด ๆ
ได้แง่คิดดีมาก ๆ เจ้าค่ะ
นักสร้างบารมี ต้องไวต่อการสร้างบารมี
กราบอนุโมทนาบุญเจ้าค่ะ
ตอบลบกราบอนุโมทนาบุญ สาธุ สาธุ สาธุครับ
ตอบลบถวายกำลังใจให้หลวงพี่ค่ะ
ตอบลบขอถวายกำลังใจหลวงพี่ให้ฝ่าฟันอุปสรรคและเอาชนะให้จงได้นะคะ ขอกราบอนุโมทนาบุญค่ะ
ตอบลบกราบอนุโมทนาบุญกับหลวงพี่ค่ะ หลวงพี่สุดยอดมากเลยเจ้าค่ะ กราบสาธุๆๆ
ตอบลบสาธุค่ะ
ตอบลบกราบอนุโมทนาบุญค่ะ
ตอบลบกราบอนุโมธนาบุญเจ้าค่ะ
ตอบลบกราบน้อมถวายกำลังใจค่ะ
ตอบลบ