ICHICO ICHICO Author
Title: บทที่ 13 : เทือกเขาถนนธงชัยสู่สมุทรสงคราม (เขาว่าหลวงพี่เป็น...ผู้มีอิทธิพล The series)
Author: ICHICO
Rating 5 of 5 Des:
บทที่ 13  :  เทือกเขาถนนธงชัยสู่สมุทรสงคราม เขาว่าหลวงพี่เป็น...ผู้มีอิทธิพล โดยพระธาดา จรณธโร  ประธานมูลนิธิธรรมชาติพิสุทธิ์  (องค์กรสา...

บทที่ 13  :  เทือกเขาถนนธงชัยสู่สมุทรสงคราม

เขาว่าหลวงพี่เป็น...ผู้มีอิทธิพล

โดยพระธาดา จรณธโร 
ประธานมูลนิธิธรรมชาติพิสุทธิ์ (องค์กรสาธารณประโยชน์)
......................................



         หลวงพี่ชอบดูแผนที่มาตั้งแต่จำความได้ สะสมแผนที่ไว้ทั้งที่เป็นแผ่นพับและที่เป็นหนังสือหลายเล่มแต่กระจัดกระจายหายไปหมดแล้ว จนกระทั่งมีสมาร์ทโฟนและอินเตอร์เน็ต หนึ่งในแอ็ปที่หลวงพี่ใช้บ่อยที่สุดคือแอ็ปแผนที่ จำได้ว่าตอนเด็กๆเคยเรียนฉลุไม้ ครั้งหนึ่งหลวงพี่เอาแผนที่ประเทศไทยแปะบนแผ่นไม้ทากาวแล้วเลื่อยฉลุประเทศไทยออกมา แต่น่าเสียดายที่ประเทศไทยของหลวงพี่หักเป็นสองท่อนอย่างง่ายดายตรงแถวๆประจวบคีรีขันธ์ ทำใมตรงนั้นประเทศเรามันจึงได้เอวบางคอดกิ่วจังเลย?






            นั่นก็นำมาซึ่งการชอบอีกวิชาหนึ่งคือวิชาประวัติศาสตร์ อย่างน้อยประวัติศาสตร์ก็บอกเราได้ว่าทำใมเส้นแบ่งประเทศจึงอยู่ตรงที่มันอยู่ และจริงๆแล้วประวัติศาสตร์มีผลโดยตรงกับภูมิศาสตร์ -  อย่างไรหรือ? ลองคิดดูว่าถ้าฝรั่งเศสไม่เฉือนเอาดินแดนแถวแม่น้ำโขงไปจากเมืองไทย บัดนี้ภูมิประเทศแถวนั้นจะเป็นอย่างไรเมื่อนึกถึงความสามารถในการดูแลรักษาป่าไม้ของคนไทย? เช่นเดียวกับทางตะวันตกที่อังกฤษเฉือนเอามะริดและทวายไป ถ้าจะบอกว่าอังกฤษเอาดินแดนไปจากไทย แล้วแถวนั้นแต่ดั้งเดิมมันเป็นของใคร? สืบไปสาวมาก็พบว่ามันเป็นของกลาง ใครมีอำนาจขึ้นมาก็เข้าครอบครอง พม่าบ้างมอญบ้างไทยบ้าง ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป 


หลวงพี่ชอบวิชาประวัติศาสตร์
อย่างน้อยก็บอกเราว่าทำไมเส้นแบ่งประเทศจึงอยู่ตรงที่มันอยู่


         สมัยเด็กๆหลวงพี่ถูกบังคับให้ท่องจำว่าชนชาติไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไต แต่มาสมัยนี้เห็นมีคนบอกว่าเราอยู่แถวที่เราอยู่ที่เรียกว่าสุวรรณภูมินี่แหละมาแต่ดั้งเดิม ไทยเริ่มมีบันทึกทางประวัติศาสตร์ชัดเจนขึ้นก็ยุคสุโขทัย พึ่งจะเจ็ดแปดร้อยปีมานี่เอง (ลองเทียบดูกับจีน อินเดีย หรืออียิปต์ซึ่งเขามีประวัติศาสตร์ชัดเจนต่อเนื่องกันมาหลายพันปี) ซึ่งตอนนั้นมหาอำนาจในแถบนี้คือขอม (ก็เขมรนั่นแหละ) ทางด้านตะวันตกก็พม่า ดูๆไปไม่แน่ว่ากงล้อประวัติศาสตร์อาจจะหมุนทับรอยเดิม สักวันลูกหลานไทยอาจต้องไปหางานทำในเขมรหรือพม่าบ้างก็ได้ (ย้อนหลังไปหลายร้อยปีก่อนถ้าเราไปบอกคนพม่าว่า อีกหน่อยลูกหลานของพวกเขาจะไปรับจ้างทำงานในประเทศไทยเป็นแสนเป็นล้านคน คิดว่าเขาจะเชื่อไหม?) 


จีน อินเดีย อียิปต์มีการบันทึกประวัติศาสตร์หลายพันปี
ไทย เริ่มมีการบันทึกในยุคสุโขทัย ประมาณ 700 ปี
ขอม มีอำนาจในแถบนี้มาก่อนประเทศไทย 


          แต่การศึกษาประวัติศาสตร์ก็ต้องระวัง เพราะมันแล้วแต่ว่าใครเขียน ถ้าเป็นไปได้ต้องหาอ่านจากหลายๆแหล่ง แล้วสังเคราะห์ออกมาเป็นเวอร์ชั่นของเราเอง อย่างสากก๊ก หลวงพี่อ่านของยาขอบบ้าง ของเจ้าพระยาพระคลัง(หน) บ้าง ฉบับวนิพกบ้าง แต่ที่ชอบที่สุดคือฉบับของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ ซึ่งจากมุมมองของท่านโจโฉคือพระเอก เล่าปี่และขงเบ้งต่างหากคือผู้ร้าย ก็เป็นมุมมองที่แปลกดี มาอ่านสามก๊กจบครบบริบูรณ์ก็ตอนมาบวชนี่เอง 

        สมัยอบรมบุคลากรใหม่ หลวงพี่ยืมหนังสือประวัติศาสตร์โลกเล่มหนาเท่าหมอนจากห้องสมุดของวัดมาอ่านจนจบ ก็พบว่าฝรั่งไม่ให้ความสำคัญกับมองโกลเท่าไหร่นัก ทั้งที่จริงๆแล้วเมื่อเทียบกัน เจงกิสข่านยิ่งใหญ่กว่าอเล็กซานเดอร์มหาราชหรือนโปเลียนมหาราชอย่างเทียบกันไม่ติด เมื่อครั้งที่อเล็กซานเดอร์มหาราชพิชิตส่วนหนึ่งของอินเดียได้ ถ้าจำไม่ผิดคือแถบลุ่มน้ำสินธุด้านที่ติดกับเอเชียกลาง อเล็กซานเดอร์ทอดถอนใจว่าดินแดนที่จะให้พิชิตนั้นไม่มีอีกแล้ว .. ตลกมาก เพราะแผ่นดินอินเดียยังเหลืออีกกว้างขวาง ยังไม่นับอาณาจักรจีนอีก แต่มองโกลครอบครองแทบทั้งทวีปเอเชีย โลกอาหรับ และยุโรปเกือบหมดทวีป ที่ไม่ได้ไปยึดยุโรปตะวันตกก็เพราะไม่มีทุ่งหญ้าเป็นอาหารให้ม้ากินแค่นั้นเอง ผู้เขียนหนังสือประวัติศาสตร์โลกเล่มนั้นคงอยากจะลืมว่าครั้งหนึ่งพวกคอเคเซี่ยนผิวขาวต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของคนผิวเหลืองอยู่นับร้อยปี เจงกิสข่านและลูกหลานครอบครองดินแดนได้มากที่สุดเท่าที่ประวัติศาสตร์เคยจารึกไว้ แต่ทั้งๆที่มองโกลเคยบุกมาถึงเวียตนาม เคยพยายามไปยึดญี่ปุ่นและเกาะชวา แต่ทำใมมองโกลไม่บุกมาถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยา? .. หลวงพี่มีทฤษฎี .. อ่านต่อไปนะ


         เช่นเดียวกัน ภูมิศาสตร์ก็มีผลกับประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก พวกเราคงเคยได้ยินเมืองพุกามในประเทศพม่าที่ซึ่งมีเจดีย์อยู่มากมายเป็นร้อยเป็นพันองค์ แล้วพวกเราทราบไหมว่าใครเป็นคนบุกทำลายอาณาจักรแห่งนี้? ถ้าหนังสือที่หลวงพี่อ่านมาเขียนไว้ไม่ผิด คำตอบคือกองทัพมองโกลลูกหลานของเจงกิสข่านนั่นเอง ถ้าไม่มีป่าเขาสลับซับซ้อนขวางกั้นไว้ กองทัพมองโกลคงตลุยมาถึงสุวรรณภูมิแล้ว (อาจผ่านดอนเมืองก่อนด้วย) ไม่แน่ว่าหน่วยลาดตระเวณมองโกลอาจมาถึงแถวอุ้มผาง แล้วกลับไปรายงานท่านข่านว่า ดินแดนที่บุกรุกได้ง่ายกว่านี้ยังมีอยู่อีกมาก ไปจัดการที่อื่นก่อนดีกว่า ..








        จากการชอบดูแผนที่นี่เอง ตั้งแต่ชั้นประถมแล้วหลวงพี่สังเกตุเห็นว่าชายแดนไทยกับพม่ามีอยู่จุดหนึ่งแถวๆแม่ฮ่องสอน มีพื้นที่ของประเทศไทยลักษณะคล้ายใบหูยื่นเข้าไปในประเทศพม่า และต่ำลงมาอีกจุดหนึ่งที่จังหวัดตากมีพื้นที่ของประเทศพม่าลักษณะและขนาดประมาณเท่าๆกันยื่นเข้ามาในประเทศไทย หลวงพี่คิดตามประสาเด็กๆว่าทำใมสองประเทศไม่แลกพื้นที่สองจุดนี้กัน เส้นแบ่งประเทศมันจะได้ดูเรียบร้อยสบายตา เวลาเลื่อยฉลุประเทศไทยก็จะได้ง่ายขึ้นด้วย




         มาถึงตอนนี้หลวงพี่รู้แล้วทำใมเส้นแบ่งประเทศที่จังหวัดตากถึงเป็นอย่างนั้น เพราะเอาแม่น้ำเมยเป็นหลักนั่นเอง ปกติแม่น้ำไม่ไหลเป็นเส้นตรง มีแต่คลองที่คนขุดเท่านั้นที่ตรงเป๊ะ แม่น้ำเมยก็เช่นกันมันก็ไหลคดโค้งไปตามธรรมชาติ มันมีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาสูงแถวๆรอยต่อของอำเภอพบพระและอำเภออุ้มผางที่เรียกกันว่าอุ้มเปี้ยม แล้วไหล ขึ้นไปทางเหนือ ใช้เป็นเส้นเขตแดนให้ไทยและพม่าไปจนถึงแถวๆแม่ฮ่องสอนทีเดียว



แผนที่จ.ตาก

         อำเภออุ้มผางอยู่ด้านใต้ของพื้นที่รูปใบหูที่แผ่นดินพม่ายื่นเข้ามาในประเทศไทยนี่เอง เนื่องจากกิตติศัพท์เรื่องความหนาวเย็นของอุ้มผาง เดิมทีหลวงพี่คิดว่ามันคงอยู่ทางเหนือของอำเภอแม่สอดขึ้นไปทางเชียงใหม่หรือแม่ฮ่องสอน แต่เอาเข้าจริงๆ กลับกลายเป็นว่าอุ้มผางอยู่ลงไปทางใต้ของแม่สอดและมีพื้นที่ติดกับจังหวัดกาญจนบุรี แปลกจริงๆ เพราะเมืองกาญจน์นั้นมีอากาศร้อนเหมือนตัวเมืองจังหวัดตาก แต่อุ้มผางกลับเย็นสบาย (แต่หลังๆนี้ก็เริ่มมีร้อนบ้างแล้ว)

        เลยอุ้มเปี้ยมมานิดเดียวก็เข้าเขตอำเภออุ้มผาง เจอหมู่บ้านแรกชื่อแม่กลองน้อย เมื่อนั่งรถผ่านช่วงนี้คืออุ้มเปี้ยมแม่กลองน้อยและแม่กลองใหญ่นั้น เราจะได้ชื่นชมกับฝีมือการเกษตรของพี่น้องม้งที่เปลี่ยนภูเขาหลายต่อหลายลูกให้กลายเป็นแปลงกะหล่ำได้อย่างน่าทึ่ง ไม่ว่าภูเขาจะสูงชันเพียงใด ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่จำกัดเขตไว้รับรองว่าพี่น้องม้งใช้ทำประโยชน์ได้หมด 





          ที่อุ้มเปี้ยมมีศูนย์ผู้อพยพภัยสงครามจากพม่าตั้งอยู่ นักท่องเที่ยวชอบแวะถ่ายรูปกัน ถ้าเข้าไปในศูนย์ฯ(ต้องขออนุญาตก่อน) จะเหมือนกับได้ไปเที่ยวต่างประเทศเลย เพราะผู้อพยพมีหลายเชื้อชาติศาสนา ในค่ายนี้มีครบทั้งวัดพุทธ โบสถ์คริสต์และมัสยิด



ชาวเขาเผ่าปกากะญอ หมู่บ้านแม่กลองคี 

        แม่กลองน้อยและแม่กลองใหญ่เป็นหมู่บ้านชาวม้ง ถนนช่วงระหว่างแม่กลองใหญ่และหมู่บ้านต่อไปชื่อแม่กลองคีซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวปกากะญอนั้นตัดผ่านป่าดึกดำบรรพ์ที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก มีเฟิร์นยักษ์ขนาดน้องๆต้นหมาก ซึ่งหลวงพี่เคยเห็นครั้งแรกที่ประเทศนิวซีแลนด์ ที่นั่นเรียก Tree fern และในเมืองไทยเคยเห็นที่ดอยอินทนนท์(อาจมีที่อื่นอีกแต่หลวงพี่ไม่เคยเจอ) ได้ยินมาว่าที่เรียกป่าดึกดำบรรพ์นั้นเป็นเพราะว่า ไม่เคยมีมนุษย์เข้าไปแผ้วทางอยู่อาศัยเลย (แต่แถวๆแม่สะเรียงจังหวัดแม่ฮ่องสอน ก็มีป้ายบอกเป็นป่าดึกดำบรรพ์เหมือนกัน แต่ปรากฎว่าโดนถางเป็นไร่ไปเยอะแล้ว) ภายหลังเปลี่ยนป้ายจากคำว่าป่าดึกดำบรรพ์เป็นป่ามหัศดำ ซึ่งคือชื่ออย่างเป็นทางการของเจ้าเฟิร์นยักษ์นั่นเอง (แต่ชาวบ้านเรียกว่าผักกูดยักษ์ ผักกูดใช้ทำแกงส้มอร่อยมาก)




ผักกูด เป็นผักปลอดสารพิษ นิยมนำมาประกอบอาหารหลายชนิด 



           ถนนช่วงสุดท้ายก่อนลงไปถึงหมู่บ้านแม่กลองคีนั้นเรียกว่าถนนลอยฟ้า สาเหตุเพราะความสูงชัน มีจุดจอดรถชมวิวด้วย ถ้าขับรถไม่เป็น ลงเขาช่วงนี้เป็นได้ผ้าเบรคไหม้กันทีเดียว คนขับมือใหม่หรือพวกขาซิ่งต่างถิ่นมาขับลงเหวแถวนี้กันหลายคันแล้ว หลวงพี่ชอบเส้นทางช่วงผ่านป่าดึกดำบรรพ์นี้มาก ผ่านไปผ่านมานับร้อยเที่ยวก็ไม่เบื่อ 


สาเหตุที่เรียกถนนลอยฟ้า เพราะมีความสูงชัย
ระหว่างทางจะมีจุดชมวิวด้วย



        มาถึงตอนนี้พวกเราได้ยินชื่อหมู่บ้านสามแห่งแล้วที่มีคำว่าแม่กลองอยู่ด้วย จริงๆยังมีอีกสองหมู่บ้านคือแม่กลองเก่าและแม่กลองใหม่ซึ่งอยู่ติดๆกับตัวเมืองอุ้มผาง ถ้าเราไม่รู้ที่มาที่ไปก็คงคิดว่าเป็นเรื่องบังเอิญที่ชื่อนี้ไปพ้องเข้ากับแม่น้ำแม่กลองที่เมืองกาญจน์ แต่จริงๆแล้วมันมีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างมาก
เทือกเขาถนนธงชัย ปัจจุบันยังมีความสมบูรณ์อยู่มาก

        ก่อนหมู่บ้านแม่กลองน้อย มีห้วยชื่อเดียวกันไหลลงมาจากภูเขาที่แบ่งเขตจังหวัดตากและกำแพงเพชร (ภูเขาทั้งหมดในบริเวณนี้คือส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัยอันยิ่งใหญ่นั่นเอง จอมพราน รพินทร์ แงซาย และดาริน แห่งเพชรพระอุมาอันลือลั่นของพนมเทียนก็บุกป่าของเทือกเขานี้แหละเข้าไปในพม่า สมัยปิดเทอมตอนเรียนช่างกล หลวงพี่เช่าหนังสือเพชรพระอุมาหมดทุกเล่มทุกตอนมานั่งอ่านนอนอ่านจนจบ นี่คงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ยิ่งชอบป่าเขาและการผจญภัยมาก) ห้วยแม่กลองน้อยใหลมารวมกับห้วยแม่กลองใหญ่กลายเป็นห้วยแม่กลอง แล้วไหลผ่านป่าดงดิบไปโผล่ที่หมู่บ้านแม่กลองคี จากนั้นก็ไหลผ่านหมู่บ้านอีกหลายแห่ง (ถ้าจะพูดให้ถูกต้องบอกว่า มีคนไปสร้างหมู่บ้านอีกหลายแห่งริมห้วยแม่กลอง) ก่อนถึงหมู่บ้านแม่กลองเก่าและแม่กลองใหม่ 





       


น้ำตกทีลอซู
        ยังมีห้วยสำคัญอีกห้วยหนึ่ง (และอีกหลายๆห้วย .. ฮ่วย .. อันหลังนี่เป็นคำอุทาน) ชื่อห้วยอุ้มผางไหลผ่านหมู่บ้านอุ้มผางคีลงมาที่ตัวเมืองอุ้มผางแล้วมาเจอกับห้วยแม่กลอง ณ จุดนี้ห้วยแม่กลองก็มีขนาดใหญ่มากแล้ว มีผู้ประกอบกิจการแพยางล่องแก่งแม่กลองพาท่องเที่ยวชมป่าชมเขาน่าเพลิดเพลินมากทีเดียว น้ำตกทีลอซูเองก็ไหลลงมาที่ห้วยแม่กลองนี่แหละ (แล้วหลวงพี่จะเล่าให้ฟังว่าน้ำตกทีลอซูมันมาจากไหน หลวงพี่ไปทำพิธีบวชต้นน้ำของน้ำตกทีลอซูมาแล้ว บวชแหลก ทั้งบวชอุบาสิกา บวชพระ บวชเณร บวชป่า บวชแม้กระทั่งต้นน้ำ บวชจนได้ดีกลายเป็นผู้มีอิทธิพล)


หลวงพี่ธาดา จรณธโร ขณะทำพิธีบวชต้นไม้

         หลังจากรับน้ำจากน้ำตกทีลอซูแล้วห้วยแม่กลองก็ไหลผ่านป่าทึบมาเรื่อยๆ มีคนเล่าให้ฟังว่ามันไหลผ่านถ้ำแห่งหนึ่งชื่อถ้ำลอดซึ่งธรรมชาติสร้างไว้ประหนึ่งเพื่อรักษาป่าสักของอุ้มผางไว้ เพราะมีผู้พยายามขนซุงไม้สักออกไป แต่ทางรถก็ลำบากเกิน จะล่องซุงลงมาทางห้วยแม่กลองก็ติดถ้ำที่ว่านี้อีก ทุกวันนี้เวลาล่องแก่งแม่กลองหรือเดินทางเข้าน้ำตกทีลอซูในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายนซี่งเป็นช่วงที่ต้นสักออกดอก เราจะพบว่าอุ้มผางมีต้นสักอยู่จำนวนมหาศาล เพราะถ้าไม่ใช่เพราะดอกสักมองไกลๆเราจะไม่รู้ว่ามันเป็นต้นอะไร สักหลายต้นใหญ่ขนาดคนโอบไม่รอบ จากนั้นห้วยแม่กลองก็มารวมกับห้วยแม่จัน แถวๆหมู่บ้านพอกะทะ ตำบลแม่จัน (เอาไว้วันหลังถ้ามีโอกาสจะเล่าให้ฟังถึงห้วยแม่จันนี้) แล้วไหลผ่านอีกสองสามหมู่บ้านจึงออกจากอุ้มผางเข้าสู่จังหวัดกาญจนบุรีที่อำเภอสังขละบุรีเป็นที่รู้จักกันในนามว่า “แม่น้ำแควใหญ่” .. อ๋อ (เหมือนจะได้ยินบางคนอุทาน)
ต้นสัก บางต้นขนาดใหญ่ๆ หลายคนโอบ
จะมีอายุกว่า 1000 ปี
ดอกสัก


        ตอนนี้พวกเรารู้รึยังว่าหมู่บ้านสารพัดแม่กลองของอุ้มผางมีความสัมพันธ์กับแม่กลองที่ริมอ่าวไทยอย่างไร? หลวงพี่ปล่อยให้พวกเรานั่งประติดประต่อเรื่องราวกันดูนะ ..



29 สิงหาคม 2559 12:25

โดยพระธาดา จรณธโร

ประธานมูลนิธิธรรมชาติพิสุทธิ์
(องค์กรสาธารณประโยชน์)




อ่านบทนำ - บทที่ 6ได้ที่ 
http://buddhisthotissue.blogsp ot.jp/2016/08/series_1.html


อ่านบทที่ 7 : ชีวิตคือการเดินทาง ได้ที่

อ่านบทที่ 8 : Been there .. Done that ..
http://buddhisthotissue.blogspot.sg/2016/08/8-been-there-done-that-series.html

อ่านบทที่ 9 : My way
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/08/9-my-way-series.html

อ่านบทที่ 10 : ซาโยนาระ
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/08/10-series.html

อ่านบทที่ 11 : ชีวิตใหม่...ในเพศสมณะ
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/09/11-series.html

อ่านบทที่ 12 : หนีเสือปะจระเข้
http://buddhisthotissue.blogspot.jp/2016/09/12-series.html

About Author

Advertisement

แสดงความคิดเห็น

  1. คนรักธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่จิตใจงาม เรียบง่ายและจริงใจ เหมือนธรรมชาติที่ไม่ต้องการการปรุงแต่ง กราบอนุโมทนาบุญกับหลวงพี่ที่รักธรรมชาติ รักป่า และรักษาความเป็นธรรมชาติที่สวยงามไว้ให้อยู่กับโลกสวยๆใบนี้ไปให้นานที่สุดเท่าที่ทำได้ กราบสาธุๆๆด้วยความเคารพเจ้าค่ะ

    ตอบลบ
  2. สาธุๆๆ ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ
    ผลงานที่ควรค่าแก่ความปลื้มปีติใจ
    การสร้างบุญบารมี ย่อมมีอุปสรรคเป็นธรรมดา หากเรามุ่งมั่นตั้งใจอยู่บนเส้นทางแห่งความดีอย่างไม่ท้อถอย สู้ด้วยสติและปัญญา วันหนึ่งต้องสำเร็จอย่างแน่นอน ดังโอวาทของมหาปูชนียาจารย์ที่ท่านให้ไว้ว่า "ไม่สู้ ไม่หนี ทำความดีเรื่อยไป" ฯ

    ตอบลบ
  3. พระช่วยอยู่รักษาป่าสมบูรณ์ รักษาจิตใจคนให้บริสุทธิ์ อนุโมทนาบุญด้วยนะครับ

    ตอบลบ
  4. ขอบพระคุณสำหรับความรู้ที่พอจ.เมตตาถ่ายทอดให้ฟังและขอกราบอนุโมทนาบุญกับพอจ.ที่ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายจนขจรขจายในแถบอุ้มผางด้วยนะขอรับ

    ตอบลบ
  5. กราบถวายกำลังใจพระอาจารย์ญาดาครับ

    ตอบลบ
  6. กราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุครับ

    ตอบลบ
  7. กราบอนุโมทนาบุญค่ะ...

    ตอบลบ
  8. กราบถวายกำลังใจเจ้าค่ะ

    ตอบลบ
  9. กราบถวายกำลังใจให้หลวงพี่ทำงานเขียนเชิงอนุรักษ์ให้ลูกหลานไทยได้รู้จักป่าผืนสำคัญของประเทศด้วยนะคะ สาธุค่ะ

    ตอบลบ
  10. ถวายกำใจให้หลวงพี่เจ้าค่ะ

    ตอบลบ
  11. ประวัติศาสตร์...ช่วยจำเรื่องดีไว้
    ประวัติศาสตร์...ช่วยให้ได้ศึกษา
    ประวัติศาสตร์...ช่วยรวมเรื่องผ่านมา
    ประวัติศาสตร์...ช่วยพาได้เข้าใจ
    ประวัติศาสตร์...ช่วยจำเรื่องสำคัญ
    ประวัติศาสตร์...ช่วยกันบันทึกไว้
    ประวัติศาสตร์...ช่วยแม้กาลผ่านไป
    ประวัติศาสตร์...ช่วยให้ได้ปัญญา
    ประวัติศาสตร์...ช่วยโลกให้เรียนรู้
    ประวัติศาสตร์...ช่วยครูผู้รักษา
    ประวัติศาสตร์...ช่วยเสริมแรงศรัทธา
    ประวัติศาสตร์...ช่วยพา(พระ)ชนะมาร...

    ตอบลบ
  12. กราบถวายกำลังใจ เจ้าค่ะ ผู้ที่เข้าใจธรรมชาติย่อมอยู่เหนือธรรมชาติ ถูกเข้าใจว่ามีอิทธิพลย่อมอยู่เหนืออิทธิพล เจ้าค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ

    ตอบลบ
  13. กราบถวายกำลังใจค่ะ

    ตอบลบ
  14. กราบถวายกำลังใจเจ้าค่ะ

    ตอบลบ
  15. กราบถวายกำลังใจให้ท่านสู้เพื่อความคงอยู่ของความจริงและความถูกต้อง

    ตอบลบ
  16. กราบอนุโมทนาบุญ สาธุๆๆครับ

    ตอบลบ
  17. พระอาจารย์เขียนสนุก มีสาระความรู้ น่าติดตามทุกตอนเลยค่ะ หายากนะคะที่จะมีผู้ที่ออกบวชสละความสบายไปอยู่ในที่ไม่สะดวกสบาย รักษ์ป่า พัฒนาศีลธรรมในใจผู้คน สมแล้วที่เค้าบอกว่าหลวงพี่เป็นผู้มีอิทธิพล(ในการทำความดี) 😄😄😄. กราบอนุโมทนาบุญค่ะ สาธุ

    ตอบลบ
  18. ผู้มีอิทธิพลตอนนี้ คือ ผู้ที่จ้องทำร้ายผู้อื่น เพื่อผลประโยชน์ตัวเอง

    ตอบลบ
  19. น้อมกราบถวายกำลังใจเจ้าค่ะ และกราบอนุโมทนาสาธุเจ้าค่ะ
    ประเทศมีพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งของพวกเราชาวพุทธ หยุด
    ให้ร้ายพระหยุดทำลายพระพุทธศาสนาเสียทีค่ะ

    ตอบลบ
  20. พระอาจารย์เขียนเก่งมากค่ะ เหมือนเดินทางไปอยู่ในพื้นที่นั้นเลยค่ะ

    ตอบลบ
  21. พระอาจารย์ เก่งและดีจริงๆ

    ตอบลบ
  22. ขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ

    ตอบลบ
  23. ไม่ระบุชื่อ13 กันยายน 2559 เวลา 05:03

    สาธุค่ะ

    ตอบลบ
  24. สาธุ ๆ ๆ ขอให้มารสดุ้งและอยู่ห่างๆ สิ่งที่หลวงพี่ได้บวชรักษาไว้
    ให้ไทยทั้งแผ่นดินด้วยเทอญ

    ตอบลบ
  25. ติดตามพระอจารย์ค่ะ กราบชื่นชมค่ะ

    ตอบลบ
  26. ชอบค่ะ เป็นบทความถูกใจนักอนุรักษ์เลย

    ตอบลบ
  27. ไม่ระบุชื่อ13 กันยายน 2559 เวลา 08:29

    กราบอนุโมทนาบุญกับพระอาจารย์ที่สละความสบายในเมือง มาอยู่ปกป้อง และรักษาธรรมชาติ ขอเป็นกำลังใจให้เสมอเจ้าค่ะ

    ตอบลบ
  28. อ่านบทความนี้ได้เปิดโลกทัศน์เลยค่ะ

    ตอบลบ
  29. อ่านบทความนี้ได้เปิดโลกทัศน์เลยค่ะ

    ตอบลบ
  30. ไม่ระบุชื่อ13 กันยายน 2559 เวลา 09:42

    ปลื้มแทนเลยค่ะ อนุโมทนาบุญนะคะ

    ตอบลบ
  31. ยุคถิ่นกาขาว โมฆบุรุษใจบาป ได้ครองเมือง
    กราบถวาบกำลังใจแด่หลวงพี่ ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกายด้วยครับ สาธุครับ

    ตอบลบ

 
Top